การเข้าฉายและวิจารณ์ ของ เปลือยรัก อารมณ์พิลึก

ประจวบ วังใจ จากเครือเนชั่นวิจารณ์ว่า หากจะตีความตามนับทางสังคมศาสตร์ เลขานุการกับเจ้านาย ก็เปรียบเสมือนบ่าวและนาย ซึ่งถ้าหากตีความตามจิตวิทยาแล้ว ก็คือ ความสัมพันธ์ในแบบ 'ผู้กระทำ' และ 'ผู้ถูกกระทำ' ซึ่งก็คือ 'ซาดิสม์' และ 'มาโซคิสม์' นั่นเอง ซึ่งเป็นไปด้วยความเต็มใจของทั้งสองฝ่าย ภาพยนตร์ดูเหมือนจะมุ่งหน้าให้ความสำคัญกับการอธิบายความสัมพันธ์ในแง่นี้ โดยเผยให้เห็นถึงการค้นหาตัวตนของผู้เป็นนายและบ่าว ว่าแท้จริงแล้ว ตัวเองต้องการสิ่งใดกันแน่ และเมื่อรู้แล้ว ควรจะเผชิญหน้ากับ 'การดำรงอยู่' ของตัวเองอย่างไร ซึ่งผู้ชมที่ไม่คุ้นกับภาพยนตร์แนวชีวิตจิตวิทยา อาจจะรู้สึกรำคาญเหมือนกำลังนั่งดูชีวิตประหลาด ๆ ที่เต็มไปด้วยเหตุผลพิกลพิการของคนสองคน แต่ถ้าอยากจะทำความรู้จักกับอีกด้านมืดอีกด้านหนึ่งในพฤติกรรมมนุษย์ อีกทั้งยังยังเปิดโอกาสให้ค้นหาและทำความรู้จักกับชีวิตที่ถูกปรุงแต่งหรือเสแสร้งของตัวละครหลักทั้งสองตัวด้วย ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้ก็มีความกระจ่างชัดในประเด็นที่กำลังเสนอค่อนข้างมากทีเดียว

Secretary เข้าฉายในเทศกาลภาพยนตร์ซันแดนซ์ในปีเดียวกัน และสามารถคว้ารางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมมาได้ และเป็นภาพยนตร์ที่นักวิจารณ์อยากจะให้มีชื่อเข้าติดเป็น 1 ใน 5 ภาพยนตร์ที่เข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม แต่ก็ไม่มีโอกาส

การเข้าฉายในประเทศไทย มีการตัดฉากบางฉากออก และได้รับระดับอาร์[1]